web analytics

งานที่ที่นิสิตสาขาวิชาพัฒนาสังคมต้องส่งภายหลังเสร็จสิ้นกระบวนการสหกิจศึกษา

นิสิตสหกิจศึกษา สาขาวิชาพัฒนาสังคม การจะสำเร็จกระบวนการสหกิจศึกษาได้นั้นนิสิตจะต้องทำรายงานรูปเล่ม 2 อย่าง ดังนี้ นะครับ

1. รายงานการปฏิบัติงาน ให้จัดทำตามตัวอย่างรูปเล่มที่พี่แนบ link มานี้ และให้มีองค์ประกอบครบถ้วนตามแบบฟอร์ม NU_Co-op 07-3 (แบบประเมินรายงานนิสิตสหกิจศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร โดยอาจารย์นิเทศงานสหกิจศึกษา) และ NU_Co-op 08-2 (แบบประเมินรายงานนิสิตสหกิจศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร โดยพนักงานที่ปรึกษา/พนักงานพี่เลี้ยง)

2. งานโครงการ ในข้อนี้นิสิตจะต้องทำโครงการขึ้นมา 1 โครงการ โดยให้ขอคำปรึกษากับพนักงานที่ปรึกษาว่าจะจัดทำโครงการอะไร ซึ่งควรจะเป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เราไปฝึกสหกิจ และพอเสร็จสิ้นโครงการนิสิตก็ต้องทำรายงานรูปเล่มสรุปผลโครงการอีก 1 เล่ม หรือจะผนวกไว้ในเล่มรายงานผลการปฏิบัติงานตามไฟล์ตัวอย่างก็ได้ครับ โดยโครงการนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นโครงการใหญ่มากมายนะครับ เอาให้เราได้พอฝึกทักษะการทำโครงการและหน่วยงานสามารถใช้ประโยชน์ได้จริงครับ โดยอาจจะเป็นโครงการที่ใช้งบประมาณหรือไม่ใช้งบประมาณก็ได้ครับ หัวข้อโครงการตัวอย่าง อาทิ เช่น โครงการผสิตสื่อ/โบรชัวร์ ประชาสัมพันธ์องกรณ์, โครงการจัดทำเว็บหรือบล็อกขององค์กร, โครงการสำรวจความคิดเห็นผู้ใช้บริการ, โครงการสำรวจความพึงพอใจผู้ใช้บริการ, โครงการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน, โครงการจัดทำ Fanpage องค์กร, โครงการชุมชนสัมพันธ์ หรือหัวข้ออื่นๆ อีกมากมายครับ พี่ยกตัวอย่างมาพอให้เห็นภาพ ส่วนที่เหลือนิสิตสามารถปรึกษากับพนักงานที่ปรึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษาของเราได้นะครับ

ตัวอย่างรายงานสรุปผลการปฏิบัติงาน/ สรุปผลโครงการ คลิ้กเพื่อดาวน์โหลด
ตัวอย่างหัวข้อโครงการ คลิ้กเพื่อดาวน์โหลด
ดาวน์โหลดเอกสาร NU-Coop ต่างๆ คลิ้กเพื่อดาวน์โหลด

หน้าที่ของพนักงานที่ปรึกษา พนักงานพี่เลี้ยง

หน้าที่ของพนักงานที่ปรึกษา /พนักงานพี่เลี้ยง (Job Supervisor)

หน้าที่ของพนักงานที่ปรึกษา

1. เป็นผู้มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ในสาขาวิชาชีพเดียวกับนิสิตสหกิจศึกษา หรือใกล้เคียง หรือเป็นผู้มีความชำนาญ ในสาขาวิชาชีพเดียวกับนิสิตสหกิจศึกษา
2. มีการให้คำปรึกษา ติดตาม แนะนำการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา และประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในสถานประกอบการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
3. ตรวจสาระรายงาน และให้ข้อเสนอแนะในการเขียนรายงานสหกิจศึกษา แก่นิสิต
4. ประเมินผลการปฏิบัติงานของนิสิตสหกิจศึกษาและรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อมหาวิทยาลัยและองค์กรของตนเอง
5. ควรเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลการปฏิบัติงานของนิสิตสหกิจศึกษาและให้ข้อเสนอแนะ
6. ตรวจสอบลักษณะงานและคุณภาพงานให้สอดคล้องกับสาขาวิชาชีพของนิสิตสหกิจศึกษาและเป็นประโยชน์กับ สถานประกอบการ
7. กำกับดูแลการปฏิบัติงานของนิสิตสหกิจศึกษา
8. ให้คำปรึกษาด้านวิชาการ วิชาชีพ และให้คำแนะนำในการปรับตัวให้เข้ากับการปฏิบัติงาน
9. วัดและประเมินผลการปฏิบัติงานของนิสิตสหกิจศึกษา โดยใช้แบบฟอร์มสหกิจศึกษา NU_Co-op 08 (แบบประเมินผล นิสิตสหกิจศึกษา) NU_Co-op 09 (แบบประเมินรายงานนิสิตสหกิจศึกษา) ที่พนักงานที่ปรึกษาได้ดำเนินการ
10. มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

บทบาทของสถานประกอบการกับสหกิจศึกษา

บทบาทของสถานประกอบการกับสหกิจศึกษา สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร ต้องจัดหาพี่เลี้ยงหรือพนักงานที่ปรึกษา (Mentor หรือ Job Supervisor) ให้กับนิสิตสหกิจศึกษา เพื่อทำหน้าที่กำกับและดูแลการทำงานของนิสิตสหกิจศึกษา และหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจจะมีการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยอาจารย์นิเทศและพนักงานที่ปรึกษาของนิสิตสหกิจศึกษา

บทบาทของสถานประกอบการกับสหกิจศึกษา

一 สถานประกอบการมีโอกาสคัดเลือกนิสิตสหกิจศึกษา
一 สถานประกอบการประเมินการประสานงานกับมหาวิทยาลัยในภาพรวม
一 มีนโยบายสนับสนุนการดำเนินงานสหกิจศึกษา
一 ผู้บริหารให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานสหกิจศึกษา
一 บุคลากรที่เกี่ยวข้องตระหนักรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ตลอดจนประโยชน์ที่สถานประกอบการจะได้รับในการดำเนินงานสหกิจศึกษา
一 ควรให้นิสิตสหกิจศึกษาได้มีการนำเสนอผลการปฏิบัติงานและประสบการณ์ที่ได้รับต่อสถานประกอบการ
一 จัดให้บุคลากรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องของสถานประกอบการทำหน้าที่ประสานงานด้านสหกิจศึกษา
一 มีผู้นิเทศงาน (พนักงานที่ปรึกษา) ที่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตรงตามสาขาวิชาชีพของนิสิตสหกิจศึกษา
一 มีค่าตอบแทนและ/หรือสวัสดิการ ตามความเหมาะสมและจำเป็นตามลักษณะงาน
一 มีอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติงานของนิสิตสหกิจศึกษา
一 มีความปลอดภัยต่อการปฏิบัติงานของนิสิตสหกิจศึกษา
一 มีการเสนองานสหกิจศึกษาแก่มหาวิทยาลัยอย่างน้อย 8 สัปดาห์ก่อนที่นิสิตสหกิจศึกษาจะไปปฏิบัติงาน
一 มีการให้คำแนะนำแก่นิสิตสหกิจศึกษาที่ไม่ได้รับการคัดเลือกเพื่อให้นิสิตสหกิจศึกษาได้มีโอกาสปรับปรุงตนเอง สำหรับการสมัครงานครั้งต่อไปโดยให้นิสิตสหกิจศึกษาเป็นผู้ประสานงาน
一 มีการปฐมนิเทศสอนงาน และจัดให้นิสิตสหกิจศึกษาได้เห็นภาพรวมการดำเนินการของสถานประกอบการ ตลอดจน กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
一 นิสิตสหกิจศึกษาได้รับการปฏิบัติเสมือนเป็นพนักงานชั่วคราวเต็มเวลาของสถานประกอบการ
一 มีการกำหนดภาระงาน หรือ หัวข้อโครงงานที่ตรงกับวิชาชีพและประสบการณ์การทำงาน
一 ควรมีการอบรมเสริมทักษะเฉพาะที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน
一 ควรจัดกิจกรรมให้นิสิตสหกิจศึกษามีโอกาสเผชิญปัญหาที่ท้าทายได้ไตร่ตรอง ได้สร้างความรู้ใหม่ และประยุกต์ใช้ในสภาพการปฏิบัติงานจริง

วัตถุประสงค์ของสหกิจศึกษา

วัตถุประสงค์ของสหกิจศึกษา

วัตถุประสงค์ของสหกิจศึกษา
1) เตรียมความพร้อมของนักศึกษา ด้านการพัฒนาอาชีพ (Career Development) และเสริมทักษะ และ ประสบการณ์ให้พร้อมที่จะเข้าสู่ระบบการทำงาน (Employability)

2) เพิ่มเติมประสบการณ์ทางด้านวิชาการ วิชาชีพ และการพัฒนาตนเองแก่นักศึกษาในรูปแบบที่มีคุณค่าเหนือกว่าการฝึกงาน

3) เปิดโอกาสให้สถานประกอบการทั้งภาคเอกชน และภาครัฐได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต

4) ให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนที่ทันสมัยได้มาตรฐานและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมากยิ่งขึ้น

5) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานประกอบการ และสถาบันอุดมศึกษาผ่านนักศึกษาสหกิจศึกษาและคณาจารย์นิเทศ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือที่กว้างขวางยิ่งขึ้น

ที่มา: สมาคมสหกิจศึกษาไทย

สหกิจศึกษาคืออะไร

สหกิจศึกษาคืออะไร

สหกิจศึกษา (Co-operative Education:Co-op)

สหกิจศึกษา (Co-operative Education:Co-op) เป็นระบบการศึกษาที่เน้นประสบการณ์ที่ได้รับจากการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ (Work-based learning) โดยที่สถาบันอุดมศึกษาจัดให้นิสิตที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ไปปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการอย่างเป็นระบบก่อนสำเร็จการศึกษา โดยที่นิสิตจะต้องปฏิบัติงานจริงแบบเต็มเวลาตรงตามสาขาวิชาชีพและเป็นประโยชน์ต่อสถานประกอบการ เสมือนหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่หรือพนักงานปฏิบัติงานชั่วคราว ณ สถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ (1 ภาคการศึกษา) ซึ่งในการปฏิบัติงานนั้นสถานประกอบการอาจกำหนดให้นิสิตสหกิจศึกษาปฏิบัติงานในตำแหน่ง ที่มีหน้าที่รับผิดชอบที่แน่นอน โดยงานที่ได้รับมอบหมายเป็นงานที่มีคุณภาพ เช่น ผู้ช่วยวิศวกร ผู้ช่วยนักวิชาการ ผู้ช่วยงาน ฯลฯ หรือ กำหนดงานเป็นโครงงานพิเศษที่เป็นประโยชน์กับสถานประกอบการและสามารถทำสำเร็จได้ ภายใน 16 สัปดาห์ โดยสถานประกอบการจะจัดหาพี่เลี้ยง หรือพนักงานที่ปรึกษา (Mentor หรือ Job Supervisor) ทำหน้าที่กำกับและดูแลการทำงานของนิสิตสหกิจศึกษา ทั้งนี้ ในการปฏิบัติงานของนิสิตสหกิจศึกษา อาจจะได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ หรือค่าตอบแทนอื่นตามความ เหมาะสม จากสถานประกอบการ และหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจจะมีการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยอาจารย์นิเทศและพนักงานที่ปรึกษาของนิสิตสหกิจศึกษา

 

ความเป็นมาของสหกิจศึกษา

สืบเนื่องจากสหกิจศึกษา มีความจำเป็นต่อการพัฒนานิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เพราะเป็นวิธีการผสมผสานการเรียนในห้องเรียนร่วมกับการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ เริ่มต้นพัฒนาในประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงปี พ.ศ. 2446-2452 เรียกและรู้จักกันว่า “ระบบสหกิจศึกษา” (Cooperative Education: Co-op) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2503 เป็นต้นมา ระบบนี้ก้าวหน้ามากเนื่องจากได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากรัฐบาลและความร่วมมือของสถานประกอบการ ปัจจุบันสถานศึกษาและสถานประกอบการทั่วโลก มากกว่า 900 หน่วยงาน จาก 39 ประเทศ นำระบบสหกิจศึกษามาใช้และพัฒนาจนถึงระดับที่มีการแลกเปลี่ยนนิสิตนักศึกษาเข้าปฏิบัติงานในระดับนานาชาติ ในปี พ.ศ.2526 ได้มี การตั้งสมาคมสหกิจศึกษานานาชาติ (World Association for Cooperative Education: WACE) โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อสนับสนุนและแลกเปลี่ยนนักศึกษาสหกิจศึกษาในระดับนานาชาติ สำหรับสหกิจศึกษาในประเทศไทยนั้น คำว่า “สหกิจศึกษา” เป็นศัพท์บัญญัติโดย ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่นำระบบสหกิจศึกษาเข้ามาใช้ในประเทศไทยที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยก่อตั้งโครงการสหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ

 

โครงการสหกิจศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร        

ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยนเรศวร มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้ เก่งงาน โดยให้นิสิตสามารถนำเอาความรู้ไปประยุกต์ในการประกอบอาชีพได้ เก่งคน ให้รู้จักสื่อสารกับคนอื่นและสามารถร่วมงานกับคนอื่น มีสังคม มีมิตรและกัลยาณมิตร เก่งคิด ให้มีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีเหตุผล เก่งครองชีวิต ให้สามารถแก้ปัญหา เพราะทุกปัญหามีทางออกเสมอ และ เก่งพิชิตปัญหา ให้มีทักษะในการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ มีเหตุผลและข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้ไม่สามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติได้จากห้องเรียนเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นจะต้องนำเอาความรู้ ความสามารถที่ศึกษามาตามที่หลักสูตรกำหนด โดยใช้กระบวนการของ “สหกิจศึกษา” คือ ไปปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการในฐานะพนักงานคนหนึ่ง ดังนั้น สถานประกอบการจึงเป็นสถานที่ที่สำคัญอย่างยิ่งและถือว่าเป็น ห้องปฏิบัติการจริงของตลาดแรงงาน และยังเป็นหน่วยงานที่ช่วยตรวจสอบกระบวนการผลิตบัณฑิต การจัดการเรียนการสอน หลักสูตร สาขาวิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยอีกด้วย มหาวิทยาลัยนเรศวร จึงมีเป้าประสงค์อย่างชัดเจนที่จะดำเนินงานสหกิจศึกษาตามมาตรฐานและการประกันคุณภาพการดำเนินงานสหกิจศึกษา ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าผลผลิตที่ได้จากการดำเนินงานสหกิจศึกษามีคุณภาพตามลักษณะที่พึงประสงค์จะช่วยให้บัณฑิตของมหาวิทยาลัยที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร เป็น ผู้ที่มีความรอบรู้วิชาการ เชี่ยวชาญวิชาชีพ มีคุณภาพและศักยภาพตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันและอนาคต จึงได้ดำเนินการและพัฒนาโครงการสหกิจศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวรอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา

วัตถุประสงค์

  1. ส่งเสริม สนับสนุน ให้ตอบสนองต่อนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการ พัฒนาสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
  2. เพิ่มประสบการณ์และพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพ ตลอดจนการพัฒนาตนเองแก่นิสิตในรูปแบบที่มีคุณค่าเหนือกว่าการฝึกงาน
  3. เปิดโอกาสให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต
  4. นำผลจากการติดตามประเมินผลโครงการมาใช้สำหรับการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยนเรศวรให้ทันสมัยและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน
  5. ส่งเสริมและสร้างความสัมพันธ์อันดี ที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือที่ดีในอนาคต ระหว่างมหาวิทยาลัยนเรศวรกับสถานประกอบการ

 

ลักษณะงานของสหกิจศึกษา

  1. ปฏิบัติงานเสมือนหนึ่งเป็นลูกจ้างชั่วคราวของสถานประกอบการ
  2. ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบที่แน่นอน โดยงานที่ได้รับมอบหมายเป็นงานที่มีคุณภาพ เช่น ผู้ช่วยวิศวกร / ผู้ช่วยนักวิชาการ / ผู้ช่วยงาน ฯลฯ
  3. ทำงานเต็มเวลา (Full Time)
  4. ระยะเวลาปฏิบัติงานเต็ม 1 ภาคการศึกษา (16 สัปดาห์ หรือ 4 เดือน)
  5. มีค่าตอบแทนตามสมควร

 

 

Cum sociis natoque penatibus et magnis dis parturient.

Cras mattis iudicium purus sit amet fermentum. Ab illo tempore, ab est sed immemorabili. Plura mihi bona sunt, inclinet, amari petere vellent. Praeterea iter est quasdam res quas ex communi. Cras mattis iudicium purus sit amet fermentum.Quis aute iure reprehenderit in voluptate velit esse. Qui ipsorum lingua Celtae, nostra Galli appellantur. Plura mihi bona sunt, inclinet, amari petere vellent. Quo usque tandem abutere, Catilina, patientia nostra? Sed haec quis possit intrepidus aestimare tellus. Quam temere in vitiis, legem sancimus haerentia.

GoPro HERO4: The Adventure of Life in 4K

All around the world GoPro users are capturing incredible experiences, from the heart-stopping to the heartfelt. Into the caldron of an active volcano, the neon streets of Japan, a refuge for wild mustangs, scaling an iceberg, the world’s biggest dance party, or a whale rescue mission, GoPros have documented every moment. See how GoPro’s new line of our most advanced cameras ever allow you to beautifully and authentically capture and share the experiences that bring purpose, adventure, and joy to your life.

Ambitioni dedisse scripsisse iudicaretur.

Aenean id vulputate quam. Sed et neque quis velit rutrum placerat. Cras sed gravida ex, in vestibulum ex. Donec convallis nec nulla quis elementum. In egestas nisi non tempus tempus. Nunc ac tempor metus. Phasellus leo nulla, cursus ac feugiat ut, rhoncus sed eros. Donec facilisis dapibus magna, sit amet pharetra nulla consectetur nec. Quisque ac purus a tortor mattis aliquet ac at ante. Donec at tortor leo. Curabitur eget urna sodales, pharetra libero id, egestas massa.

Ab illo tempore, ab est sed immemorabili.

Aliquam eget metus tempus, vestibulum sapien nec, volutpat lacus. In consequat at neque ut rhoncus. Phasellus porta metus ut sagittis dictum. Nullam pretium posuere dui, non tincidunt dui. Duis ornare lorem et ante suscipit, rutrum tincidunt quam volutpat. Praesent id sapien vel sapien suscipit aliquam sed ac mauris. Donec aliquet sit amet eros eu cursus. Integer ullamcorper ex ut velit fringilla dapibus. Nunc orci nibh, venenatis in eros at, ullamcorper tristique sem. Curabitur ligula sem, elementum et volutpat non, rhoncus non nibh. Maecenas sodales odio non lacinia fermentum.

1 2 3

Warning: count(): Parameter must be an array or an object that implements Countable in C:\__xampp\htdocs\cooperative\wp-content\plugins\detheme_builder\detheme_builder.php(59) : runtime-created function on line 1